ปี 2567 เจอ 5 สัปดาห์ทุกเดือน แถมบางเดือนยังยาว 6 สัปดาห์!
ปี 2567 นอกจากจะเป็นปี “อธิกสุรทิน” แล้ว ยังเป็นปีที่แต่ละเดือนมีมากถึง 5-6 สัปดาห์! ดังนั้นแล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา อาจจะต้องวางแผนการใช้เงินให้ดี เพราะต้องประหยัดลากยาวไปจนสัปดาห์ที่ 6 ให้ได้
"29 กุมภาพันธ์" ไขข้อสงสัยทำไม 4 ปีถึงมีครั้ง
อัปเดต! ปฏิทินวันหยุด 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันหยุดธนาคาร
ปี 2567 มี 5สัปดาห์ทุกเดือน
เคยท่องกันไหมว่า “1 เดือนมี 4 สัปดาห์” นั่นเป็นเพราะว่าโดยปกติแล้วใน 1 เดือนเราจะนับได้ 4-5 สัปดาห์แต่ปี 2567 ทั้งๆ ที่จำนวนวันของปีก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม
หากจะแตกต่าง ก็เพียง 1 วันเท่านั้น เพราะปีนี้เป็นปีอธิกสุรทิน ที่จะมี 366 วัน ไม่ใช่ 365 เหมือนปีที่ผ่านๆ มา
แต่ครั้งนี้พิเศษขึ้นอีก เพราะทุกเดือนจะมี 5 สัปดาห์ และในเดือน “มีนาคม” กับ “มิถุนายน” จะลากยาวออกมาอีกเป็น 6 สัปดาห์เลยทีเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มกราคม 257 : 5 สัปดาห์
- กุมภาพันธ์ 2567 : 5 สัปดาห์
- มีนาคม 2567 : 6 สัปดาห์
- เมษายน 2567 : 5 สัปดาห์
- พฤษภาคม 2567 : 5 สัปดาห์
- มิถุนายน 2567 : 6 สัปดาห์
- กรกฎาคม 2567 : 5 สัปดาห์
- สิงหาคม 2567 : 5 สัปดาห์
- กันยายน 2567 : 5 สัปดาห์
- ตุลาคม 2567 : 5 สัปดาห์
- พฤศจิกายน 2567 : 5 สัปดาห์
- ธันวาคม 2567 : 5 สัปดาห์
วางแผนใช้เงินอย่างไรให้อยู่รอดถึงสิ้นเดือน
ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่า การทำแผนใช้เงินอาจเป็นอีกทางที่จะช่วยเราให้อยู่รอดในช่วงเวลาที่มีรายได้จำกัดได้
แม้อาจจะดูยุ่งยากหน่อย แต่ในสถานการณ์การเงินที่ค่อนข้างหนักหน่วงนี้ เขาอาจเป็นเหมือนผู้ช่วยให้เราจัดการเงินได้ดีขึ้น
เพราะนอกจากจะทำให้อุ่นใจ ยังช่วยลดภาวะเครียดเมื่อเงินน้อย “Financisl Insecurity” ได้อีก โดยสามารถทำได้ดังนี้
1.) จดรายรับต่อเดือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด
ก่อนที่จะวางแผนการเงิน ต้องรู้ก่อนว่ามีรายรับเท่าไร โดยให้เขียนลิสต์แต่ละรายการออกมาว่า เงินที่จะเข้ามามีอะไรบ้าง และเป็นจำนวนเท่าไร จากนั้นนำยอดมารวมจะได้ “ยอดรวมรายรับ” ของเดือนนั้นๆ
2.) จดรายจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด
จดรายรับแล้ว ก็ถึงเวลาจดรายจ่าย ให้ลิสต์ทุกรายการออกมาว่า จะมีรายจ่ายอะไรบ้าง และเป็นจำนวนเท่าไร จากนั้นก็ให้นำจำนวนของรายจ่ายทั้งหมดมาบวกกัน จะได้ “ยอดรวมรายจ่าย” ของเดือนนั้น
3.) ทำแผนใช้เงิน
ให้นำรายรับและรายจ่ายมาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูผลจากการเปรียบเทียบดังนี้
กรณีที่ 1 : รายรับ = รายจ่าย
กรณีนี้ทำให้เราจะอยู่รอดจนถึงสิ้นเดือนได้ก็จริง แต่หากมีรายจ่ายที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล เงินที่มีอาจทำให้เราอยู่ได้ไม่ถึงสิ้นเดือน
แต่หากเรามีเงินสำรองไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันแล้ว ก็ถือว่ารายการรายรับรายจ่ายนี้เป็น “แผนใช้เงิน” ที่สามารถนำไปเป็นแผนการใช้จ่ายของเราได้เลย
ส่วนคนที่ยังไม่มีเงินสำรอง อาจลดรายจ่ายอื่นลง แล้วเพิ่มรายการ “เงินออมเผื่อฉุกเฉิน” ในช่องรายจ่ายเพื่อกันไว้ใช้ในอนาคต
กรณีที่ 2 : รายรับ < รายจ่าย
กรณีนี้ เรียกว่าเราจะอยู่รอดจนถึงสิ้นเดือนได้อย่างสบายๆ แต่หากยังไม่มี “เงินออมเผื่อฉุกเฉิน” ในช่องรายจ่าย ขอให้เพิ่มรายการนี้เอาไว้ก่อน แล้วมาดูอีกรอบว่ายังมีเงินเหลืออยู่ไหม หากเหลืออาจจะใช้เงินนั้นไปซื้อของที่อยากได้ หรือจะนำไปลงทุนต่อก็ได้
กรณีที่ 3 : รายรับ < รายจ่าย
กรณีนี้อาจทำให้เราอยู่ไม่รอดจนถึงสิ้นเดือน และอาจต้องกู้เงินเพื่อใช้จ่าย เพราะการใช้จ่ายเกินรายรับจะนำไปสู่หนี้สิน
ดังนั้นเราจะต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจังคือ เริ่มจากลงรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก หากตัดแล้วรายรับยังน้อยกว่าอีกอาจต้องหารายได้เพิ่ม เช่น หาอาชีพเสริม ขายเสื้อผ้าที่ยังอยู่ในสภาพดี หรือขายของสะสม
เงินออมเผื่อฉุกเฉินควรมีเท่าไร
ออมเงินสำรองไว้น้อยไป หรือมากไป ต่างก็ทำใก้เกิดผลเสีย ทั้งไม่พอใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน หรือทำให้เสียโอกาสในการหาผลตอบแทนจากการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงแนะนำว่า
มนุษย์เงินเดือน ควรมีเงินสำรอง 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน และฟรีแลนซ์ที่มีการผ่อนรถ มีทรัพย์สินเล็กน้อยควรมีเงินสำรองฉุกเฉินมากกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนจะดีที่สุด
สุดท้ายนี้อย่าลืมทำตามแผนกันด้วย เพราะต่อให้แผนดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จริง เราอาจจะอยู่ไม่รอดจนถึงสิ้นเดือน แต่หากทำตามแผนที่วางไว้ เชื่อว่าโอกาสพลาดน้อยมากที่จะอยู่ไม่รอด
ขอบคุณข้อมูลจาก : Balance, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คอนเฟิร์ม “ลิซ่า ลลิษา” ร่วมแสดงซีรีส์ดัง ‘The White Lotus’ ซีซัน 3 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แฉกลยุทธ์ใหม่! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกคุย 2 นาที-ดูดเงินได้เกลี้ยงบัญชี
เปิดตัวละครใหม่ยัน "น้องพร" โกหกทั้งหมด